ArkcoThailand จะพามาชม วิธีการชุบโครเมี่ยม (Chromium plating) ว่ามีขั้นตอนอย่างไร ต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว มาเปลี่ยนพลาสติกให้กลายเป็นของหรูกันเถอะ
Table of Content
การชุมโครมเมี่ยม คืออะไร (Chromium plating)
วิธีการชุบโครเมี่ยมบนโลหะ
สรุป
พลาสติก เป็นสารประกอบที่มีความนิยม ในการนำมาสร้าง/ผลิต เป็นสินค้าอย่างมาก เนื่องจากตัวพลาสติกเองมีราคาไม่แพง น้ำหนักเบา มีความคงทนระดับหนึ่ง และสามารถนำไปต่อยอดได้มากมาย
แต่ก็ต้องยอมรับจริงๆว่า ตัวสินค้าที่ทำจากวัสดุหลักเป็นพลาสติกนั้น ค่อนข้างถือว่าเป็นสินค้า Low Grade/ Low End ขาดความพรีเมี่ยม การใช้พลาสติกเป็นวัสดุหลักแบบชัดเจน จะทำให้ลดทอนมูลค่าของสินค้าไปได้เลย
หลายครั้งจึงนิยมนำ พลาสติก ไปชุบโครเมี่ยม (Chromium plating) เพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้ใกล้เคียงโลหะมากที่สุด และเพิ่มความหรูหรา สวยงามได้อย่างดีเลยทีเดียว
วันนี้ ArkcoThailand จะพามาชม วิธีการชุบโครเมี่ยม (Chromium plating) ว่ามีขั้นตอนอย่างไร ต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว มาเปลี่ยนพลาสติกให้กลายเป็นของหรูกันเถอะ
การชุบโครเมี่ยม คือการชุบเงาบนผิวโลหะ หรือ ผิวพลาสติก โดยใช้โครเมี่ยมในการเป็นกระบวนการตั้งต้นหลัก ในการชุบด้วยวิธีทางไฟฟ้า ซึ่งข้อดีของการชุบโครเมี่ยมคือ
การชุบโครเมี่ยม ถูกใช้ในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2467 นิยมใช้ในชิ้นส่วนตกแต่งและเครื่องประดับต่างๆเป็นหลัก ตลอดจนนิยมใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ยานต์ยนต์ เป็นเครื่องตบแต่งเพิ่มความสวยงามได้นั่นเอง
องค์ประกอบหลักคือการใช้สารละลายโครเมี่ยม 6 ประจุ ( Cr6+ , Hexavalent chromium ) และสารละลายโครเมี่ยม 3 ประจุ ( Cr3+ , trivalent chromium )
การชุบโครเมี่ยมบนโลหะใช้กระบวนการพื้นฐานของการชุบด้วยไฟฟ้า เป็นการดึงประจุของโครเมี่ยมในสารละลายไปจับตัวที่พื้นผิวของชิ้นงาน ด้วยกระบวนการทางเคมี ซึ่งคล้ายคลึงกับ กระบวนการพ่นสีด้วยเครื่องพ่นสีไฟฟ้าสถิต ที่ต้องพ่นในห้องสุญญากาศและใช้กระบวนการทางเคมีเช่นกัน
1. ขั้นตอนการเตรียมผิวชิ้นงาน
ผิวชิ้นงานที่เราจะนำมาชุบได้แก่ ผิวโลหะ หรือ พลาสติก จะต้องทำการขัดและซ่อมแซมผิวให้เรียบที่สุดก่อนการทำการชุบโครเมี่ยม ซึ่งหากผิวโลหะของเรามีรอยหรือเรียบเนียนไม่เสมอกัน จะทำให้การชุบโครเมี่ยมในขั้นตอนสุดท้ายไม่สวยงาม สูญเปล่าได้เลย
ซึ่งการเตรียมผิวชิ้นงานโลหะเล็กๆ ถือว่าไม่มีปัญหาสักเท่าไหร่ แต่หากเป็นพื้นผิวชิ้นงานโลหะใหญ่ขึ้นมาหน่อย ควรเตรียมผิวด้วยเครื่องพ่นทรายจะดีที่สุด เพราะการพ่นทรายจะทำให้ชิ้นงานมาความเรียบเนียนเสมอกันทุกอณู และประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน สามารถทำได้รวดเร็วที่ละมากๆ ได้เลยทีเดียว
2. ล้างทำความสะอาดคราบไขมัน
การล้างทำความสะอาดคราบไขมันนั้นสำคัญมาก เพราะจะทำให้ชิ้นงานสะอาดที่สุด ปราศจากเศษซาก ทราย หรือไขมันที่เกาะอยู่ก่อนการชุบ
สามารถล้างได้ด้วยการจุ่มชิ้นงานลงบ่อโซดาไฟ ( Caustic bath cleaning ) โดยให้ความร้อนโซดาไฟที่อุณหภูมิประมาณ 60-70 องศา ด้วยฮีตเตอร์สแตนเลส หรือ ไทเทเนียม ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ตามความเหมาะสม จากนั้นจุ่มล้างด้วยน้ำเปล่า
หรือหากเป็นชิ้นงานโลหะส่วนใหญ่ ให้ใช้วิธีการจุ่มล้างชิ้นงานด้วยไฟฟ้า สามารถใช้งานกับโลหะที่สามารถละลายในสารละลายอัลคาไลน์ได้ เช่น อลูมิเนียม โครเมี่ยม ดีบุก ตะกั่ว ทองแดง แมกนิเซียม เป็นต้น
วิธีการก็ไม่ยาก แค่นำชิ้นงานมาต่อกับขั้วบวกของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงเพื่อทำให้เป็นขั้วแอโนด และใช้แผ่นโครเมี่ยมตระกั่วต่อกับขั้วลบของแหล่งจ่ายไฟเพื่อให้เป็นแคโทด การจุ่มล้างชิ้นงานด้วยไฟฟ้า สามารถทำความสะอาดสิ่งที่บ่อโซดาไฟไม่สามารถชะล้างออกได้ด้วย
3. การกัดเปิดผิวชิ้นงานและการชุบเตรียมผิวด้วยนิกเกิล ( Nickel Strike )
กัดเปิดชิ้นงานด้วยสารละลายที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุ และชุบขั้นแรกด้วยนิกเกิล ลงบนชิ้นงาน ความหนาประมาณ 0.1 ไมครอน ซึ่งสามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดความหนาผิวเคลือบ Elcometer เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะของการชุบผิวขั้นต่อไป
4. ชุบผิวด้วยทองแดงและทองแดงเงา (Copper Strike & Bright Nickel)
จากนั้นใช้สารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต ชุบด้วยกระแสไฟฟ้าต่ำๆ เคลือบผิวทองแดงประมาณ 0.1 ไมครอน และชุบลงในบ่อคอปเปอร์ซัลเฟตที่ผสมด้วยกรดซัลผิวริกและสารละลายอื่นๆ ตามเทคนิคอีกครั้ง ชุบด้วยความหนาประมาณ 30 ไมโครเมตร ตรวจสอบความหนาด้วยเครื่องวัดความหนาผิวเคลือบ Elcometer เพื่อช่วยปิดผิวและรูเล็กๆ บนชิ้นงาน
5. ชุบนิเกิลเงา ( Bright Nickel )
ขั้นตอนนี้สำคัญมากๆ ในการเตรียมผิว เพราะต้องใช้สารละลายนิเกิลซัลเฟตที่มีราคาสูงมาก ต้องใช้อุณหภูมิสูง 40-50 องศา ด้วยฮีตเตอร์ทำความร้อน และชุบชิ้นงานลงบนบ่อชุบนิเกิลเงา เป็นการชุบเตรียมผิวครั้งสุดท้าย
6. ชุบโครเมี่ยม ( Chromium plating )
เมื่อเตรียมผิวเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงทำการชุบโครเมี่ยมได้ ซึ่งมีการชุบสองวิธีคือ Hexavalent chromium และ Trivalent chromium ซึ่งทั้งสารมีความแตกต่างกัน
สารละลายโครเมี่ยม 3 ประจุ (Trivalent chromium) จะให้สารพิษที่น้อยกว่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า ทนทานต่อรอยขีดข่วนและการกัดกร่อน มีสีสันหลากลาย และมีกระบวนการทำเงาได้ยากกว่า
ส่วน สารละลายโครเมี่ยม 6 ประจุ (Hexavalent chromium) จะนิยมใช้ในแพร่หลายอุตสาหกรรม ให้ความสวยงามและความทนทานไม่แพ้กัน แต่ประหยัดต้นทุนได้มากกว่าตัว 3 ประจุ แบบเท่าตัวเลยทีเดียว แต่ตัวสารมีข้อเสียคือมีความเป็นพิษ ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม(ไม่รักษ์โลก)และผู้ที่ชุบโครเมี่ยม ต้องกำจัดและบำบัดก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติอย่างถูกวิธีอีกด้วย
พลาสติก เป็นสารประกอบที่มีความนิยม ในการนำมาสร้าง/ผลิต เป็นสินค้าอย่างมาก เนื่องจากตัวพลาสติกเองมีราคาไม่แพง น้ำหนักเบา มีความคงทนระดับหนึ่ง และสามารถนำไปต่อยอดได้มากมาย ตัวสินค้าที่ทำจากวัสดุหลักเป็นพลาสติกนั้น ค่อนข้างถือว่าเป็นสินค้า Low Grade หลายครั้งจึงนิยมนำ พลาสติก ไป ชุบโครเมี่ยม (Chromium plating) เพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้ใกล้เคียงโลหะมากที่สุด และเพิ่มความหรูหรา สวยงามได้อย่างดีเลยทีเดียว สำหรับวันนี้ ArkcoThailand ขอลาไปก่อน
ArkcoThailand เป็นผู้จัดจำหน่าย เครื่องขัดเหล็ก Montipower เครื่องพ่นสีไฟฟ้า Graco ระบบ Airless เครื่องพ่นทราย เครื่องวัดความหนาสี Elcometer
และอีกมากมาย
________________________________________________________________
ท่านสามารถสั่งซื้ออุปกรณ์ เครื่องมือเตรียมผิวงาน เครื่องพ่นสี เครื่องพ่นทราย เครื่องวัดความหนาสี ได้ที่
TEL
086-351-3941,
Create at : 2022-11-11 04:29:38