เจาะลึกเครื่องวัดความหนาสี Elcometer สารพัดประโยชน์ มีวิธีการทำงานอย่างไร

ในบทความนี้ ArkcoThailand จะมาพาเจาะลึกถึง เครื่องวัดความหนาสี Elcometer กันแบบเน้นๆ พร้อมประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ กันอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วก็มาอ่านกันเลย 

 

Table of Content
หลักการทำงานของเครื่องวัดความหนาสี Elcometer
เครื่องวัดความหนาสี Elcometer นั้นแบ่งหลักการการทำงานได้จากหัววัด สองแบบ 
ตัวอย่างการใช้เครื่องวัดความหนาสี Elcometer
สรุป

 

จากบทความที่แล้ว ArkcoThailand ได้พูดถึง เครื่องวัดความหนาสี Elcometer ให้หลายๆคนได้รู้จักกันเบื้องต้น รวมถึงได้รู้จักเครื่องวัดความหนาสีในแบบต่างๆ กันไปแล้ว 

อย่างที่กล่าวไปว่า หากเราต้องการงานสีมาตรฐานยิ่งขึ้น จะต้องวัดค่าความหนาสีหลังจากพ่นสีให้ตรงตามสเปคของโรงงาน หรือ งานนั้นๆ การฝึกฝนใช้หวีวัดความหนาสีสำหรับผู้เริ่มต้นจึงเป็นการประเมินที่ทำให้ชิ้นงานดียิ่งขึ้น

หากพอเข้าใจเรื่องการวัดค่าเบื้องต้นแล้ว จึงอัพเกรดมาใช้เครื่องวัดความหนาสี elcometer ได้ ในบทความนี้ ArkcoThailand จึงจะมาพาเจาะลึกถึง เครื่องวัดความหนาสี Elcometer กันแบบเน้นๆ พร้อมประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ กันอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วก็มาอ่านกันเลย 

 

หลักการทำงานของเครื่องวัดความหนาสี Elcometer

อย่างที่บอกไปว่า หวีวัดความหนาสีนั้นใช้วิธีการหวีผิวสี และวัดค่าโดยการอ่านระยะห่าง ระหว่าง ฟันหวีที่กำหนดตัวเลขต่างๆ จะได้ค่าที่ไม่แม่นยำ เหมือนกับการใช้เครื่อง และสามารถวัดได้แค่พื้นฟิล์มสีเปียกเท่านั้น 

ต่างจากเครื่องวัดความหนาสี Elcometer ที่สามารถวัดได้ทั้งพื้นผิวเปียก และพื้นผิวแห้ง ได้อย่างแม่นยำถึง 97%-99% เพราะวิธีการทำงานก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

 

เครื่องวัดความหนาสี Elcometer นั้นแบ่งหลักการการทำงานได้จากหัววัด สองแบบ 

1. หลักการ Magnetic Induction (การเหนี่ยวนำแม่เหล็ก)

เป็นวิธีการวัดความหนาสีแบบหนึ่ง ซึ่งจะอาศัยแม่เหล็กไฟฟ้าที่ขดลวดเพื่อเหนี่ยวนำประจุ โดยตัวหัววัดที่เป็นลักษณะแท่งเหล็ก จะถูกพันด้วยขดลวด (Coil) เป็นจำนวน 2 ชุด

ขดลวดชุดแรกจะถูกจ่ายไฟความถี่ต่ำ เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กรอบๆ แท่งเหล็ก ทำให้เมื่อนำหัววัดเข้าใกล้ชิ้นงาน จะเกิดความแรงของสนามแม่เหล็กที่เปลี่ยนไปตามระยะของความห่าง ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าในขดลวดชุดที่ 2 จากนั้น หน่วยประมวลผลจะนำผลแรงดันที่เกิดขึ้นในขดลวดชิ้นที่ 2 ไปคำนวณหาความหนาแน่นของ Flux แม่เหล็ก

2. หลักการ Eddy Current (กระแสไฟฟ้าวน)

Eddy Current หรือ กระแส Foucault เป็นการไหลวนรอบของกระแสไฟฟ้าที่ถูกเหนี่ยวนำจากการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กตามกฏของการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์
โดย Eddy Current จะต่างจาก Magnetic Induction ตรงจะมีขดลวดเพียง 1 ชุดเท่านั้น ที่จะคอยรับกระแสไฟฟ้าสลับความถี่ต่ำ ให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้ากระแสสลับบนขนลวด เมื่อเข้าใกล้อโลหะ จะทำให้เกิดกระแสไหลวน (Eddy Current) บนอโลหะนี้  จากนั้นจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าอีกสนามหนึ่งในทิศทางตรงกันข้าม ทำให้สนามแม่เหล็กลดลง เมื่อนำทั้งสองมาคำนวนจะเกิดความเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าสลับในขดลวด ซึ่งได้มาเป็นผลลัพธ์นำไปคำนวนหาความหนาได้

ซึ่งทั้งสองแบบต่างกันแค่วิธีการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ และมีข้อดีกว่าหวีวัดความหนามากมาย อาทิ เช่น

  • สามารถใช้วัดความหนาของพื้นผิวฟิล์มสีแห้งได้ โดยไม่ทำลายเนื้อผิวเคลือบหรือพื้นผิว
  • มีความแม่นยำสูงมาก เช่น เครื่องวัดความหนาสี Elocometer 456 มีความแม่นยำอยู่ที่ +/- 2.5 ไมครอน หรือ ผิดพลาดไม่เกิน 1-3% เรียกได้ว่าแม่นยำถึง 97-99% เลยทีเดียว
  • สามารถอ่านค่าได้รวดเร็ว ใช้งานง่าย

 

ตัวอย่างการใช้เครื่องวัดความหนาสี Elcometer 

ใช้วัดค่าความหนาสีและผิวเคลือบรถยนต์
เครื่องวัดความหนาสี Elcometer 311 ได้รับการออกแบบมาสำหรับอุตสากรรมพ่นสีรถยนต์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสเปคการทำสีรถยนต์จากโรงงานในปัจจุบันนี้ มีรายละเอียดสีที่แยกย่อยมากมาย มีสีให้เลือกไม่ซ้ำกันทุกโทน ถึงแม้ว่าจะมีสีขาวเหมือนกัน แต่ก็เป็นสีขาวที่มองดูด้วยตาได้ง่าย ว่าแตกต่างกัน
ดังนั้น การวัดค่าความหนาของสีและสารเคลือบจะมีความละเอียดมากกว่าปกติ ซึ่งเจ้า Elcometer 311 สามารถวัดสารเคลือบบนตัวถังรถยนต์ได้อย่างแม่นยำ +/- 1.0 ไมครอนเลยทีเดียว

วัดความหนาผิวเคลือบป้องกันในอุตสาหกรรม
ผิวเคลือบป้องกันในอุตสาหกรรมนั้น ก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะงานที่ทำจากเหล็กนั้นหากไม่เคลือบสารเคลือบกันสนิม ก็มีโอกาสที่จะโดนสนิมเล่นงานจนผุพังได้
และเมื่อเคลือบสารเคลือบต่างๆ ก็ต้องวัดความหนาของสารเคลือบให้ตรงตามสเปคของโรงงานด้วย สามารถใช้เครื่องวัดความหนาสี Elcometer 456 IPC ซึ่งได้รับการออกแบบสำหรับวัดความหนาผิวฟิล์มแห้ง ของผิวเคลือบป้องกันในอุตสาหกรรม ด้วยโปรไฟล์ 4 ช่วง ในการเทียบค่า เพื่อหาค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงและแม่นยำที่สุด

วัดความหนาสีเนื้อฝุ่นในอุตสาหกรรม
สีเนื้อฝุ่น หรือ สีฝุ่น มีลักษณะเป็นผง คล้ายแป้ง สามารถนำมาพ่น ให้เกิดสีสันสวยงาม ทนทาน ทนต่อ UV และทนต่อสารเคมี 
เครื่องวัดความหนาสี Elcometer 415 นิยมใช้วัดความหนาของสีฝุ่นได้ เป็นเครื่องที่ใช้งานง่าย แม่นยำ มีหน้าจอแสดงผลขนาดใหญ่ อ่านได้มากกว่า 60 ครั้งต่อนาที ใช้งานได้ทั้งผิวเรียบ และผิวโค้ง 

 

สรุป

หากเราต้องการงานสีมาตรฐานยิ่งขึ้น จะต้องวัดค่าความหนาสีหลังจากพ่นสีให้ตรงตามสเปคของโรงงาน หรือ งานนั้นๆ การฝึกฝนใช้หวีวัดความหนาสีสำหรับผู้เริ่มต้นจึงเป็นการประเมินที่ทำให้ชิ้นงานดียิ่งขึ้น หากพอเข้าใจเรื่องการวัดค่าเบื้องต้นแล้ว จึงอัพเกรดมาใช้เครื่องวัดความหนาสี elcometer ได้

 

___

ท่านสามารถสั่งซื้ออุปกรณ์ เครื่องมือเตรียมผิวงาน เครื่องพ่นสี เครื่องพ่นทราย เครื่องวัดความหนาสี ได้ที่

TEL
(66) 0-2406-0716-7,
08-6351-3941,
08-9920-2257

E-MAIL
sales@arkcothailand.com

Ark CO Thailand

Create at : 2022-10-18 03:51:34